สมาชิกกลุ่มอินฟาเรด :')

นายชาคริต เอียดวิจิตร 52112540064

นายวศพันธ์ นิ่งน้อย 52112540078

นางสาวเกศกนก ทัตเศ 52112540087

นายศิริภัทร จิตรนุ่ 52112540088

นายหัสนัย ปัถพี 52112540089

นายศุภณัฐ ปิ่นเกตุ 52112540090

นางสาววิศนีย์ บัวทิน 52112540096

นางสาวอัญญารัตน์ คุ้มภัย 52112540099

นางสาวจิตติมา บุญมาศ 52112540101

“ในหลวง” สร้าง “เขื่อน” เพื่อพลังงานและสายธารชีวิต


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศและ เยี่ยมพสกนิกร ก็จะทรงสังเกตเส้นทางเดินของน้ำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศ ก่อนพระราชทานคำแนะนำให้ข้าราชการและราษฎร นำไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นฝายกั้นน้ำ และเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศ
เขื่อนบางแห่งก็ได้รับพระราชทานชื่อตามพระปรมาภิไธ เช่น เขื่อนภูมิพล บางแห่งก็เป็นนามพระราชทาน เช่น เขื่อนรัชชประภา ที่มีความหมายว่าแสงสว่างแห่งรัชกาล เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เป็นชื่อรำลึกถึงวีรชนไทยในอดีต ยังมี เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ซึ่งสร้างตามพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และอีกมากมาย ทั่วพระราชอาณาจักรประโยชน์ของเขื่อนตามพระราชดำรินั้น นอกเหนือจาก เพื่อนำพลังน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสน องความต้องการของประเทศแล้ว ยังส่งผลดีในในด้านการชลประทาน สามารถปล่อยน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ระบายออกไปใช้ในการเกษตร รวมทั้งเป็นปราการช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วง ฤดูฝน และหลายแห่งยังอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วยผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นำรายได้สู่ชุมชนใกล้เคียงการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีเขื่อน และมีพระราชดำริสนับสนุนการทำงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำ จึงเป็นคุณานุประการแก่ประเทศชาติและพสกนิกรไทยโดยทั่วกัน

เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ชื่อเขื่อน : เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน
สถานที่ตั้ง : อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลักษณะเขื่อน : เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,598 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง
เขื่อนรัชชประภา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530 เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530
ประโยชน์
ด้านพลังานไฟฟ้า มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ส่งพลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ด้วยสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี ไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร และขนาด115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร
การชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนให้ประโยชน์ต่อการเพาะปลูกพืช บริเวณสองฝั่งแม่น้ำในตอนล่าง เป็นผลให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ผลดี
บรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี
การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
การท่องเที่ยว ทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสวยงามมากจนได้ชื่อว่ากุ้ยหลินเมืองไทย บริเวณเกาะแก่งในเขื่อนยังมีแพพักของอุทยานฯ ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อน ในแต่ละปีสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ทั้งคนขับเรือนำเที่ยว และการค้าขายบริเวณสันเขื่อน
การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจากเขื่อนสามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึงปีละ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น
แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ในฤดูแล้งลำน้ำตาปี-พุมดวงมีปริมาณน้ำลดลง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มหนุนขึ้นมา น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนรัชชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และผลักดันน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบการท่องเที่ยว ตัวเขื่อนเป็นการดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภาจะมีแพที่พักไว้บริการ เป็นแพของทางอุทยาน 3 แพ แต่ละแพอยู่ในตำแหน่งที่มีทัศนียภาพสวยงาม และยังมีอแพของเอกชนอีก 3 แพ การเที่ยวเขื่อนรัชชประภาสำหรับคณะที่มีเวลาน้อยจะขับรถมาจอดที่จุดชมวิวบนสันเขื่อน ชมแบบแว๊บๆ แล้วก็กลับ บางคณะพอมีเวลาหน่อยก็จะเช่าเรือหางยาวนั่งชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำ เรือจะพาไปถึงแพของอุทยาน ขึ้นแพพักผ่อนอริยาบท ชมทัศนียภาพ ถ่ายรูปแล้วก็เดินทางกลับ แต่สำหรับคณะที่ต้องการพักผ่อนบนแพท่ามกลางธรรมชาติก็จะพักค้างคืนบนแพ กิจกรรมที่น่าสนใจระหว่างที่พักอยู่ที่แพคือ ชมวิว เล่นน้ำ พายเรือแคนู ตกปลา และอีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือการไปเที่ยวถ้ำซึ่งจะต้องเดินป่าเข้าไป ระหว่างทางจะได้สัมผัสความสมบูรณ์ของป่าดิบของภาคใต้ เดือนไม่ไกลพอได้บรรยากาศการเดินเที่ยวป่าสัมผัสธรรมชาติ และอีกกิจกรรมหนึ่งคือการนั่งเรือชมวิว วิวในอ่างเก็บน้ำสวยเกินคำบรรยาย ไม่ใครสักคนที่จะบอกว่าไม่สวย

เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา


ชื่อเขื่อน : เขื่อนบางลาง จ.ยะลา
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตา จ.ยะลา
ลักษณะเขื่อน : เขื่อนบางลาง ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความสูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 430 เมตร กว้าง 10 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้ำเหนือเขื่อน 2,080 ตารางกิโลเมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดเครื่องละ 24,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่องเขื่อนบางลาง เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานีที่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2519 แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524
ประโยชน์
ด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งน้ำที่ปล่อยออกมาสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ เฉลี่ยปีละประมาณ 200 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ช่วยบรรเทาอุทกภัย ในบริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำปัตตานีที่เคยเกิดขึ้นเสมอได้เป็นอย่างดี
ด้านการเพาะปลูก น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางสามารถอำนวยประโยชน์ ในด้านการชลประทานแก่พื้นที่เพาะปลูก ของจังหวัดยะลาและปัตตานีเป็นพื้นที่ 380,000 ไร่
เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ ในภาคใต้ที่ช่วยเสริมอาชีพและรายได้แก่ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อน
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดยะลา

เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี


ชื่อเขื่อน : เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
สถานที่ตั้ง : อำเภอพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว ตัวเขื่อนมีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑,๙๖๖ ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิไฟฟ้าจำนวน ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขา ของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนาม เขื่อนว่า “เขื่อนสิรินธร” สร้างเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
ประโยชน์
เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกประสงค์จึงสามารถอำนวยประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนา ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้
การผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้พลังน้ำมาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยาย ขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกไปได้กว้างขวางขึ้น
การชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๒,๐๐๐ ไร่
บรรเทาอุทกภัย เขื่อนสิรินธรสามารถกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามแม่น้ำลำโดมน้อยไว้ได้เป็นจำนวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วม
การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ทำให้ราษฎรมีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น
การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขาย และคมนาคมขนส่งผลผลิต ออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง
การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่นของภายในบริเวณเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและพักผ่อนหล่อนใจเป็นจำนวนมาก

เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี


ชื่อเขื่อน : เขื่อนห้วยหลวง จ. อุดรธานี
สถานที่ตั้ง : อ. กุดจับ จ. อุดรธานี
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 12.50 เมตร สันเขื่อน ยาว 4.9 กิโเมตร เก็บน้ำได้ 113 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 161 ล้านลูกบาศก์เมตร
เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตัวเขื่อนสร้างเสร็จ พ.ศ. 2522 งานระบบส่งน้ำเสร็จ พ.ศ. 2527 วัตถุประสงค์สร้างเพื่อการชลประทาน สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 94,830 ไร่ในฤดูฝน และ 30,000 ไร่ ในฤดูแล้ง และยังเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ผลิตน้ำประปาในจังหวัดอุดรธานี การประปาอำเภอหนองวัวซอ และการประปาอำเภอกุดจับ
ประโยชน์
เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อชลประทาน
เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ผลิตน้ำประปา
เป็นแหล่งประมงน้ำจืด เป็นแหล่งอาหาร สร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น
ช่วยบรรเทาอุทักภัย ในฤดูน้ำหลากไม่ให้น้ำไหลท่วมตัวเมืองอุดร ตัวเมืองอุดรเป็นแอ่งที่ราบท้องกะทะ เมื่อฝนตกต่อเนื่องหากน้ำไหลท่วมตัวเมืองจะสร้างความเสียหายมหาศาลอย่างที่เคยเกิด เขื่อนห้วยหลวงช่วยป้องกันและบรรเทาอุทกภัยได้อย่างมาก
การท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนห้วยหลวง ทัศนียภาพเมื่อมองจากสันเขื่อนจะเป็นแอ่งน้ำที่กว้างใหญ่ บนสันเขื่อนเป็นถนนสำหรับสัญจรผ่านไปมา นักท่องเที่ยวสามารถขับรถไปจอดชมวิวบนสันเขื่อนได้ บริเวณด้านซ้ายของเขื่อนมีสวนพักผ่อนที่ร่มรื่น มีศาลาชมวิว มีห้องน้ำที่สะดวกสบายไว้บริการให้แก่นักท่องเที่ยว ตรงข้ามกับสวนพักผ่อนเป็นร้านอาหารชื่อว่าร้าน "ชาวเขื่อนห้วยหลวง" ให้บริการอาหารกับผู้ที่เข้ามาพักผ่อน ชมวิวบริเวณเขื่อน นั่งรับประทานอาหารประเภทปลาน้ำจืดรสเด็ด

เขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร


ชื่อเขื่อน : เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร
สถานที่ตั้ง : อำเภอพังโคน จ.สกลนคร
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 30 เมตร ยาว 3,300 สันเขื่อนกว้าง 8.00 เมตร เก็บกักน้ำได้ 520 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 443 ล้านลูกบาศก์เมตร
ประโยชน์
เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในพื้นที่ชลประทานในจังหวัดสกลนครช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 185800 ไร่
เป็นแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัดสกลนคร
เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่
เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในอ่างเก็บน้ำมีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นสถานที่พักผ่อนย่อนใจประชาชนในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้

เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ


ชื่อเขื่อน : เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ
สถานที่ตั้ง : อำเภอคอนสาร จ.ชัยภูมิ
ลักษณะเขื่อน : เป็นแบบหินถม แกนกลางเป็นดินเหนียวบดอัดทับแน่นด้วยกรวดและหิน มีความยาวตาม สันเขื่อน ๗๐๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๘ เมตร ฐานกว้าง ๒๕๐ เมตร ความสูงจากฐานราก ๗๐ เมตร ความจุของอ่างเก็บน้ำ ๑๘๘ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ ๑๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตรโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ตรงเชิงเขาใกล้กับลำน้ำสุ ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของตัวเขื่อน แล้วชักน้ำหน้าเขื่อน จากฝั่งซ้ายของ ลำน้ำ โดยผ่านอุโมงค์ซึ่งเจาะทะลุภูเขา ไปหมุนเครื่องกังหันน้ำซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาอีกด้านหนึ่ง ภายในโรงไฟฟ้าติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด ๒๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๒ ชุด
เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย บริเวณที่เรียกว่าภูหยวก ในท้องที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นเขื่อนในโครงการน้ำพรม ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๒ ตัวเขื่อนสร้างเสร็จในเดือนมกราคม ๒๕๑๓ โรงไฟฟ้าสร้างเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรากุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ ไปทรงเปิด เขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๑๖ พร้อมทั้งได้พระราชทาน พระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ มาขนานนามชื่อเขื่อนว่า "เขื่อนจุฬาภรณ์"
ต่อมาในปี ๒๕๓๕ กฟผ. ได้สร้างเขื่อนขนาดเล็กขื่อ “เขื่อนพรมธารา” ขึ้นทางฝั่งซ้ายของเขื่อน จุฬาภรณ์ ห่างออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตรเพื่อนำน้ำมาลงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ได้เพิ่มขึ้น ปีละประมาณ ๒ ล้าน ลูกบาศก์เมตรประโยชน์เขื่อนจุฬาภรณ์ เป็นเขื่อนที่ความสำคัญมากอีกเขื่อนหนึ่ง ต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังน้ำเฉลี่ยปีละ ๙๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง สามารถตอบสนองความต้องการของ ประชาชนได้อย่างเพียงพออีกทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัย ในบริเวณ ทุ่งเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนลงไปทางท้ายน้ำ ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ อ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริเวณที่ตั้ง ของเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงามมากและอากาศเย็นสบายตลอดปี จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แห่งหนึ่ง ในภูมิภาคนี้

เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น


ชื่อเขื่อน : เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
สถานที่ตั้ง : อำเภออุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว มีความยาว ๘๘๕ เมตร สูง ๓๕.๑ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๑๒๕ เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๒,๒๖๓ ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,271 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิต ๘,๔๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๒๕,๒๐๐ กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ ๕๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนพลังน้ำ แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สอง ของประเทศไทยต่อมาจาก เขื่อนภูมิพล สร้างปิดกั้นแม่น้ำพองที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อ เขื่อนพองหนีบ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ สร้างเสร็จในปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช ดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ และได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนอุบลรัตน์
แต่เดิมเขื่อนสูง ๓๒ เมตร ต่อมาในปี ๒๕๒๗ ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขื่อนในการบรรเทาอุทกภัยให้สูงขึ้น และเป็นการเสริมความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อนโดยการเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นอีก ๓.๑ เมตร ส่วนฐานเขื่อนด้านท้ายขยายจากเดิมซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๓๐
ประโยชน์
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่เอื้ออำนวยประโยขน์ต่อประชาชนในด้านต่างๆ ดังนี้
ด้านผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ๕๕ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ด้านชลประทานและการเกษตร น้ำที่ปล่อยผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้วจะถูกส่งเข้าสู่ระบบชลประทาน ให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ช่วยให้ทำการ เพาะปลูกได้ปีละ ๒ ครั้ง และ สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ด้วย
ด้านการประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแหล่งประมงขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของ ประเทศ ทำรายได้ ปีหนึ่งๆ ให้แก่ประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นจำนวนมาก ช่วยยกระดับมาตรฐาน การครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น
ด้านการบรรเทาอุทกภัย ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์สามารถบรรเทาภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้น อย่าง กระทันหันในฤดูฝน บริเวณแนวฝั่ง ลำน้ำพองถึงแม่น้ำชีให้ลดน้อยลง
ด้านคมนาคม อ่างเก็บน้ำของเขื่อนใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ ประชาชนใช้เป็น เส้นทางสัญจร ไปมาหาสู่กันอย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนทั่วไป
การเที่ยวที่เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนอุบลรัตนมีสถานที่น่าไปเที่ยวอยู่ 2 ที่ จุดแรกคือบริเวณสันเขื่อน ซึ่งจะต้องเข้าไปในพื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จุดที่น่าสนใจคือ ชมวิวสันเขื่อน และชมวิวอ่างเก็บน้ำ สำหรับร้านอาหารริมเขื่อนจะเป็นร้านสโมสรของการไฟฟ้าออกแนวหรูๆ อยู่ในตู้กระจก สำหรับจุดชมวิวด้านล่างก็จะมีป้ายเตือนว่า " อย่าเช่าเรือ หรือขึ้นเรือเช่าออกไปเที่ยวในอ่างเพราะอาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต " ลงเล่นน้ำไม่ได้เพราะไม่มีหาด ดังนั้นการเที่ยวที่จุดนี้คือการขับรถเข้ามาจอดชมวิวดังที่เห็นในภาพ ไม่มีการกระจายรายได้สู่คนในท้องถิ่นเท่าที่ควร และกิจกรรมท่องเที่ยวก็ไม่มีอะไรนอกจากไปชมวิว แล้วก็เข้าร้านอาหาร
จุดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเขื่อนอุบลรัตน์ คือ ชายหาดบางแสน 2 ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของเขื่อน ลักษณะมีหาดทรายยาว มีร้านอาหารชาวบ้าน และมีหาดให้ลงเล่นน้ำ จุดนี้เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้ๆ เคียง ในช่วงฤดูร้อนจะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยว