แหล่งอ้างอิงข้อมูล ..
สมาชิกกลุ่มอินฟาเรด :')
นายชาคริต เอียดวิจิตร 52112540064
นายวศพันธ์ นิ่งน้อย 52112540078
นางสาวเกศกนก ทัตเศษ 52112540087
นายศิริภัทร จิตรนุ่ม 52112540088
นายหัสนัย ปัถพี 52112540089
นายศุภณัฐ ปิ่นเกตุ 52112540090
นางสาววิศนีย์ บัวทิน 52112540096
นางสาวอัญญารัตน์ คุ้มภัย 52112540099
นางสาวจิตติมา บุญมาศ 52112540101
“ในหลวง” สร้าง “เขื่อน” เพื่อพลังงานและสายธารชีวิต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพภูมิประเทศและ เยี่ยมพสกนิกร ก็จะทรงสังเกตเส้นทางเดินของน้ำ การดำเนินชีวิตของมนุษย์และระบบนิเวศ ก่อนพระราชทานคำแนะนำให้ข้าราชการและราษฎร นำไปปฏิบัติ จนเกิดเป็นฝายกั้นน้ำ และเขื่อนหลายแห่งทั่วประเทศ
เขื่อนบางแห่งก็ได้รับพระราชทานชื่อตามพระปรมาภิไธ เช่น เขื่อนภูมิพล บางแห่งก็เป็นนามพระราชทาน เช่น เขื่อนรัชชประภา ที่มีความหมายว่าแสงสว่างแห่งรัชกาล เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่เป็นชื่อรำลึกถึงวีรชนไทยในอดีต ยังมี เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ซึ่งสร้างตามพระราชดำริ เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ และอีกมากมาย ทั่วพระราชอาณาจักรประโยชน์ของเขื่อนตามพระราชดำรินั้น นอกเหนือจาก เพื่อนำพลังน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อสน องความต้องการของประเทศแล้ว ยังส่งผลดีในในด้านการชลประทาน สามารถปล่อยน้ำในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ระบายออกไปใช้ในการเกษตร รวมทั้งเป็นปราการช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วง ฤดูฝน และหลายแห่งยังอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วยผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นำรายได้สู่ชุมชนใกล้เคียงการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีเขื่อน และมีพระราชดำริสนับสนุนการทำงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำ จึงเป็นคุณานุประการแก่ประเทศชาติและพสกนิกรไทยโดยทั่วกัน
เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา

เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี

เขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร

เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนพลังน้ำ แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สอง ของประเทศไทยต่อมาจาก เขื่อนภูมิพล สร้างปิดกั้นแม่น้ำพองที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อ เขื่อนพองหนีบ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ สร้างเสร็จในปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราช ดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ และได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า เขื่อนอุบลรัตน์
แต่เดิมเขื่อนสูง ๓๒ เมตร ต่อมาในปี ๒๕๒๗ ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขื่อนในการบรรเทาอุทกภัยให้สูงขึ้น และเป็นการเสริมความปลอดภัยให้แก่ตัวเขื่อนโดยการเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นอีก ๓.๑ เมตร ส่วนฐานเขื่อนด้านท้ายขยายจากเดิมซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๓๐
เขื่อนหนองปลาไหล จังหวัดระยอง

เขื่อนหนองปลาไหล เป็นเขื่อนเพื่อการชลประทานในโครงการชลประทานระยอง แต่เดิมจังหวัดระยองมีแหล่งน้ำหลักๆ คืออ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอจึงต้องสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ห่างจากอ่างเก็บน้ำเดิมไป ๕ กิโลเมตรมีชื่อว่าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยสร้างกั้นลำห้วยคลองใหญ่หนึ่งในลำห้วยสาขาทางตอนเหนือของแม่น้ำระยอง ตัวอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ ๒๒.๘๙ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำฝน ๔๐๘ ตารางกิโลเมตร น้ำทั้งหมดที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำคือน้ำฝนในพื้นที่รับน้ำ เหนืออ่างเก็บน้ำเป็นพื้นที่ราบไม่มีภูเขาไม่มีป่าไม้ ดั้งนั้นปริมาณน้ำในอ่างจึงฝากความหวังไว้กับปริมาณน้ำฝนเพียงอย่างเดียว น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนหนองปลาไหลถูกปล่อยลงสู่คลองชลประทานซึ่งไหลผ่านอำเภอบ้านค่ายผ่านพื้นที่ทำการเกษตรในเขตจังหวัดระยอง ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานจำนวน ๓๐,๐๐๐ ไร่ นอกจากนี้น้ำอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลยังใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของคนระยอง น้ำส่วนหนึ่งยังใช้เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปาในจังหวัดระยอง โดยการประปาระยอง การประปาบ้านฉาง และยังใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองเพื่อการประปาของเมืองพัทยาอีกด้วย
เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อเขื่อน : เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา
สถานที่ตั้ง : อำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดิน สูง 40.30 เมตร ยาว 521 เมตร กว้าง 10 เมตร เก็บกักน้ำได้ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 270 ล้านลูกบาศก์เมตร
เขื่อนลำตะคอง เป็นเขื่อนเอนกประสงค์เพื่อการชลประทาน สร้างกันลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นกับช่องเขาถ่านเสียด ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 สร้างเสร็จ พ.ศ. 2512 เขื่อนลำตะคอง สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 127,540ไร่ในฤดูฝน และ 50,000 ไร่ ในฤดูแล้ง รวมทั้งใช้เพื่อการประปาในเขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอโนนสูง อำเภอขามทะเลสอ และเขตเทศบาลนครราชสีมาเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม และยังช่วยบรรเทาอุกทกภัยในลุ่มน้ำลำตะคอง ลุ่มน้ำมูลให้ลดน้อยลง
ประโยชน์
ด้านการชลประทาน ส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานจำนวน 127,540ไร่ในฤดูฝน และ 50,000 ไร่ ในฤดูแล้ง
ด้านการประมง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น
ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนลำตะคองมีทัศนียภาพที่สวยงาม บริเวณสันเขื่อนริมถนนมิตรภาพมีร้านอาหารของคนท้องถิ่นไว้บริการ และบริเวณนี้ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม
ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำจากเขื่อนใช้เพื่อผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี

เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่

เขื่อนแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่

สถานที่ตั้ง : อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 26.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 332 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 4,500 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 24.5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อว่า เขื่อนแม่งัด ตัวเขื่อนสร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยกรมชลประทาน การก่อสร้างตัวเขื่อนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมา กฟผ. ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ในปี พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2529 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
ประโยชน์
ด้านการชลประทาน สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ประมาณ 30,000 ไร่ และช่วยส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่ เพาะปลูกของฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแฝก) จังหวัดเชียงใหม่ โครงการแม่ปิงเก่า จังหวัดลำพูน และพื้น ที่เพาะปลูกโดยฝายของราษฎรอีกด้วย รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 188,000 ไร่
ด้านพลังงานไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ประมาณ24.50 ล้านกิโลวัตต์
ด้านการประมง เป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น
การท่องเที่ยว เขื่อนแม่งัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ อ่างน้ำเหนือเขื่อนมีทัศนียภาพที่งดงาม มีแพพัก มีร้านอาหร เหมาะที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อน รับประทานอาหารที่แพ และนั่งเรือชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อเขื่อน : เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
สถานที่ตั้ง : อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 ลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว สันเขื่อนสูง 133.60 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บ กักน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สามรองจากเขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,391 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,255 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนสิริกิติ์ เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ก่อสร้างโดยกรมชลประทานโดยมีวัตถุประสงค์ด้านชลประทานเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ เขื่อนผาซ่อม ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี 2506 แล้วเสร็จในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และ โรงไฟฟ้าเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520
ประโยชน์
การชลประทาน น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน กับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน
การบรรเทาอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจจะไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัย ในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร
การผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทานจะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง ๔ เครื่อง ให้พลังไฟฟ้า ๕๐๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
การประมง กฟผ. ได้นำพันธุ์ปลาน้ำจืดหลายชนิดปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ กลายเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ ช่วยเสริมรายได้ให้กับราษฎรบริเวณนั้นการคมนาคมทางน้ำ ช่วยให้
การคมนาคมทางน้ำ บริเวณเหนือเขื่อนไปยังจังหวัดน่าน สะดวก และใช้งานได้ตลอดปี
การท่องเที่ยว เขื่อนสิริกิติ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของ บรรยากาศ เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

สถานที่ตั้ง : อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ลักษณะเขื่อน : เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดเป็น เขื่อนคอนกรีตโค้งที่ใหญ่และสูงที่สุดใน เอเชียอาคเนย์ ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,602 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 731,200 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,062 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
เขื่อนภูมิพล : เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณบ้านยันฮี ตำบลเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ชื่อเดิมเรียกตามสถานที่ว่าเขื่อนยันฮี วางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 เสร็จปี 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อ เขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล”การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคาร โรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1-2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และ 15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ ต่อมาได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3-6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ และ เครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในวันที่ 11 พฤษภาคม และ 19 สิงหาคม 2512 และ วันที่ 18 ตุลาคม 2525 ตามลำดับ นอกจากนี้ในปี 2534 กฟผ. ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171,000 กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง เพื่อใช้อ่างเก็บน้ำเป็นอ่างล่าง สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล มีกำลังผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 731,200 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้า ปีละ 1,062 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
ประโยชน์ : นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของประเทศแล้ว ในด้านการชลประทาน ยังสามารถปล่อย น้ำในอ่างเก็บน้ำ ไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประมาณ 7.5 ล้านไร่ รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และอำนวยประโยชน์ ในด้านการประมงอีกด้วย ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดตาก ภายในบริเวณเขื่อน มีสวน สาธารณะที่มีความร่มรื่น ชื่อ “สวนน้ำพระทัย” และที่เขื่อน แม่ปิงตอนล่างก็มี “สวนเฉลิมพระเกียรติ” ไว้ต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนด้วย ปัจจุบันมีเรือสำราญพานักท่องเที่ยวล่องเรือชมทัศนียภาพเหนือเขื่อนโดยเริ่มจากเขื่อนล่องไปขึ้นที่ดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพาเรือคายัคในอ่างอีกด้วย
รายชื่อเขื่อนที่สำคัญในประเทศไทย
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก
เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนอุบลรัตน์ (เขื่อนพองหนีบ) จังหวัดขอนแก่น
เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม) จังหวัดชัยภูมิ
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
เขื่อนแม่ปิงตอนล่าง จังหวัดตาก
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา
เขื่อนคีรีธาร จังหวัดจันทบุรี
เขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา
เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเขื่อนแห่งแรกในประเทศไทย
เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขื่อนแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี
ประโยชน์ของเขื่อน




